เติมน้ำยาแอร์ เติมน้ำยาแอร์บ้าน ราคาถูก หลักการทำงาน การเติมน้ำยาแอร์ ตรวจเช็คน้ำยาแอร์ เราจะทำการ เต็มน้ำยาแอร์ ก็ต่อเมื่อ น้ำยาแอร์ ในระบบพร่อง หมดจริง ๆ เท่านั้น หากมี น้ำยาแอร์ ไม่เพียงพอ หรือ ไม่เหมาะสม กับ การทำงาน อาจทำอาจทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ เสีย หรือ ว่าน็อคได้ การตรวจเช็ค สำหรับแรงดันน้ำยาแอร์ ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 65-80 ปอนด์/ตารางนิ้ว แนะนำควรใช้ คลิปแอมป์จับกระแส ในขณะที่ทำการ เติมน้ำยาแอร์ ไปด้วย มันจะทำให้เราทราบว่าตัว คอมเพรสเซอร์ นั้น มันกินกระแสหรือไม่ หากระบบแอร์ไม่มีปัญหา น้ำยาแอร์ จะก็ยังคงเหลือในระบบ ลดลงมากหรือน้อยแล้วแต่ระยะเวลา แต่ในความเป็นจริงน้ำยาแอร์จะไม่มีหมด หากระบบแอร์ไม่รั่ว
การเติมน้ำยาแอร์ อุปกรณ์การเติมน้ำยาแอร์ ที่ใช้ในการเติมน้ำยาก็จะมี น้ำยาแอร์ ถังน้ำยาแอร์ เกจวัดแรงดัน และประแจเลื่อนหรือคีม โดย ช่างแอร์จะทำการใช้ประแจเลื่อนขันจุกที่ปิดวาวล์เซอร์วิสออก หากเป็นแอร์รุ่นเก่าจะสามารถใช้มือหมุนหรือใช้คีมหมุนก็ได้ หลังจากนั้น ช่างแอร์ ทำการเอาสายต่อจากเกจด้านโลว์เพรชเชอร์ ตัวสายสีน้ำเงิน อยู่ทางด้านซ้าย นำมาเสียบเข้ากับวาวล์เซอร์วิสของแอร์ โดยให้ต่อที่ด้านโลว์เหมือนกัน หลังจากนั้นช่างแอร์ จะทำการ ปล่อยให้เครื่องเดินสักพักแล้ว แล้วทำการตรวจเช็คว่า น้ำยาแอร์ นั้นมีค่าแรงดันเท่าไหร่ แต่ถ้าหากมีแรงดันต่ำกว่า 40 ปอนด์ นั้น พึงสันนิษฐานว่า แอร์ อาจเจะเกิดอาการ แอร์รั่ว แต่กรณีดังกล่าวอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นได้เหมือนกัน
หากมีการตรวจเช็คแล้วว่า น้ำยาแอร์ ขาดไปเล็กน้อยให้ทำการ เติมน้ำยาแอร์ เข้าไป โดยการต่อวาวล์บริการของเกจ สายสีเหลือง เข้ากับถัง น้ำยาแอร์ แล้วทำการ เปิดวาวล์ที่ ถังน้ำยาแอร์ และทำการ เปิดวาวล์ ที่เกจด้านสายสีน้ำเงิน เมื่อเปิดสักพักให้ปิดวาวล์ใดวาวล์หนี่ง เพื่อเช็คว่าแรงดันน้ำยาเท่าไหร่แล้ว เมื่อถึงแรงดันตามสเปคที่ผู้ผลิตกำหนดแล้ว ก็ให้ปิดวาวล์และ ทำการถอดเกจออก ช่างแอร์ ทำการตรวจเช็คการทำงาน ของแอร์ มีความเย็น เป็นปรกติ ทำการแจ้งให้ลูกค้าทราบทุกครั้ง ก่อนดำเนินการ เติมน้ำยาแอร์